From this page you can:
Home |
Search results
23 result(s) search for keyword(s) 'การเมืองระดับท้องถิ่น, กลุ่มผลประโยชน์, รูปแบบ, วิธีการการแข่งขัน'
Add the result to your basket Refine your search Apply to external sources Make a suggestion
SIU THE-T. วิธีการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองระดับเทศบาลตำบล อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง / ฉัตรชัย เล็กบุญแถม / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU THE-T Title : วิธีการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองระดับเทศบาลตำบล อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง Original title : Competitive Strategies of Political Interest Groups at Subdistrict Municipality Level, Nikhompattana, District, Rayong Material Type: printed text Authors: ฉัตรชัย เล็กบุญแถม, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: ix, 133 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การปกครองท้องถิ่น Keywords: การเมืองระดับท้องถิ่น,
กลุ่มผลประโยชน์,
รูปแบบ,
วิธีการการแข่งขันAbstract: วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับเทศบาลตำบล และศึกษาการใช้เครื่องมือที่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองนำมาใช้ในการแข่งขันทางการเมืองในระดับเทศบาลตำบลโดยใช้อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เป็นกรณีศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มพ่อค้า/แม่ค้า และกลุ่มข้าราชการในพื้นที่เทศบาลตำบลมะขามคู่ เทศบาลตำบลมาบข่า และเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 110 คน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบที่ทำให้กลุ่มนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีนโยบายที่ชัดเจน และสามารถตอบสนองความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี โดยการเข้ามีส่วนร่วมกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีความเป็นเครือญาติกับคนในพื้นที่มีความสัมพันธ์อันดีตลอดมา และยังมีพรรคการเมืองระดับชาติคอยให้การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างความนิยมจากประชาชนโดยการเข้าไปช่วยเหลือโครงการต่างๆ ส่งเสริมและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและร่วมผลักดันกิจกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง การเป็นกันเองกับชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง ไม่แบ่งกลุ่มหรือประเภท โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์แอบแฝง และการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกภาคส่วน สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อลักษณะการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ผลการวิจัยพบว่ามีลักษณะการต่อสู้ในรูปแบบของการเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องตัวบุคคล บทบาททางการเมือง นโยบาย การปกป้องผลประโยชน์ ตลอดจนความสัมพันธ์ โดยมีกลุ่มชาวบ้านคอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก เร่งกระทำในเรื่องของประชานิยมของการแข่งขัน และเป็นไปในลักษณะของการลงพื้นที่หาเสียงโดยใช้ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ซึ่งต่างฝ่ายต่างให้เครือญาติและเพื่อนๆ ช่วยเหลือเพื่อขอคะแนนเสียงจากประชาชนในพื้นที่ และที่สำคัญกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นได้ใช้ความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อขอความช่วยเหลือจากนักการเมืองระดับประเทศเพื่อให้การสนับสนุน
ผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในเขตพื้นที่ พบว่า มีการสร้างสัมพันธภาพของกลุ่มนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและกลุ่มนักการเมืองที่แพ้การเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทของกลุ่มองค์กรต่างๆ ของประชาชนในการรับสนับสนุนของกลุ่มนักการเมืองที่ชนะในการเลือกตั้งและกลุ่มนักการเมืองที่แพ้การเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทความสำคัญของคุณสมบัติ และนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผลจากบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ในเขตพื้นที่เทศบาลที่ พบว่า การสร้างบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในเขตพื้นที่ส่งผลบวกมากกว่าผลลบCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27842 SIU THE-T. วิธีการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองระดับเทศบาลตำบล อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง = Competitive Strategies of Political Interest Groups at Subdistrict Municipality Level, Nikhompattana, District, Rayong [printed text] / ฉัตรชัย เล็กบุญแถม, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - ix, 133 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การปกครองท้องถิ่น Keywords: การเมืองระดับท้องถิ่น,
กลุ่มผลประโยชน์,
รูปแบบ,
วิธีการการแข่งขันAbstract: วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับเทศบาลตำบล และศึกษาการใช้เครื่องมือที่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองนำมาใช้ในการแข่งขันทางการเมืองในระดับเทศบาลตำบลโดยใช้อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เป็นกรณีศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มพ่อค้า/แม่ค้า และกลุ่มข้าราชการในพื้นที่เทศบาลตำบลมะขามคู่ เทศบาลตำบลมาบข่า และเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 110 คน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบที่ทำให้กลุ่มนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีนโยบายที่ชัดเจน และสามารถตอบสนองความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี โดยการเข้ามีส่วนร่วมกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีความเป็นเครือญาติกับคนในพื้นที่มีความสัมพันธ์อันดีตลอดมา และยังมีพรรคการเมืองระดับชาติคอยให้การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างความนิยมจากประชาชนโดยการเข้าไปช่วยเหลือโครงการต่างๆ ส่งเสริมและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและร่วมผลักดันกิจกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง การเป็นกันเองกับชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง ไม่แบ่งกลุ่มหรือประเภท โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์แอบแฝง และการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกภาคส่วน สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อลักษณะการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ผลการวิจัยพบว่ามีลักษณะการต่อสู้ในรูปแบบของการเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องตัวบุคคล บทบาททางการเมือง นโยบาย การปกป้องผลประโยชน์ ตลอดจนความสัมพันธ์ โดยมีกลุ่มชาวบ้านคอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก เร่งกระทำในเรื่องของประชานิยมของการแข่งขัน และเป็นไปในลักษณะของการลงพื้นที่หาเสียงโดยใช้ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ซึ่งต่างฝ่ายต่างให้เครือญาติและเพื่อนๆ ช่วยเหลือเพื่อขอคะแนนเสียงจากประชาชนในพื้นที่ และที่สำคัญกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นได้ใช้ความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อขอความช่วยเหลือจากนักการเมืองระดับประเทศเพื่อให้การสนับสนุน
ผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในเขตพื้นที่ พบว่า มีการสร้างสัมพันธภาพของกลุ่มนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและกลุ่มนักการเมืองที่แพ้การเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทของกลุ่มองค์กรต่างๆ ของประชาชนในการรับสนับสนุนของกลุ่มนักการเมืองที่ชนะในการเลือกตั้งและกลุ่มนักการเมืองที่แพ้การเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทความสำคัญของคุณสมบัติ และนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผลจากบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ในเขตพื้นที่เทศบาลที่ พบว่า การสร้างบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในเขตพื้นที่ส่งผลบวกมากกว่าผลลบCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27842 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598266 SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-07 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598233 SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-07 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน / มณฑิรา ชุนลิ้ม / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2017
Collection Title: SIU THE-T Title : การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน Original title : Sport Development’s Contribution to the Marketing Strategy of Private University Material Type: printed text Authors: มณฑิรา ชุนลิ้ม, Author ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2017 Pagination: ix, 156 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กลยุทธ์การตลาด
[LCSH]กีฬาKeywords: รูปแบบการพัฒนากีฬา,
กลยุทธ์การตลาด,
มหาวิทยาลัยเอกชน,
วิจัยเชิงคุณภาพAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกและ/หรือสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากีฬาที่มีผลต่อการส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยทำการวิจัยในครั้งนี้
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ (Purposive Sampling) จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 8 แห่ง ที่มีระดับผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 แบ่งเป็นกลุ่มสถาบันที่ได้รับเหรียญรางวัลมาก เหรียญรางวัลปานกลาง และเหรียญรางวัลน้อย โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) กับผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านสำนักกีฬา สถาบันละ 2 คน จำนวน 16 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยทำการส่งหนังสือขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์พร้อมส่งข้อคำถาม ประเด็นการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและขออนุญาตทำการบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ และถอดเทปการบันทึกการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในแต่ละประเด็น ร่วมกับจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แล้วนำมาสรุปและอภิปรายผลของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ของการวิจัย พบว่า สภาวะการแข่งขันทางการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษานั้น มีลักษณะการแข่งขันกันในรูปแบบมหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชนและในกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกัน โดยมีระบบการให้ทุนการศึกษาความสามารถพิเศษด้านกีฬาเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการแข่งขันมุ่งเน้นเหรียญรางวัลและระดับของจำนวนเหรียญรางวัลเพื่อเพิ่ม หรือรักษาระดับของมหาวิทยาลัย (Ranking) และประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานจากการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียน รูปแบบการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถแบ่งออกตาม 7 Ps คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ประเภทกีฬาที่ส่งเสริม หลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น 2) ด้านผลตอบแทนที่ได้รับจากการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย (Price) ทุนการศึกษา ระบบจูงใจค่าตอบแทน สวัสดิการ 3) ด้านช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการรับนักศึกษา (Place) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน เวลาการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) โครงการ/กิจกรรมด้านกีฬา การให้บริการด้านอาคาร สนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านบุคลากร (People) มีคณาจารย์และผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียง 6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) สนามกีฬาและอาคารกีฬา สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา 7) ด้านกระบวนการ (Process) ระบบดูแลเรื่องการเรียน ระบบการฝึกซ้อม การประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬานอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างตราสินค้า (Brand Image) ของมหาวิทยาลัยและการให้ทุนการศึกษานักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) เพื่อเป็นแบบอย่างดึงดูดนักเรียนที่ชื่นชอบนักกีฬาเลือกเข้าศึกษาต่อได้Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27548 SIU THE-T. การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน = Sport Development’s Contribution to the Marketing Strategy of Private University [printed text] / มณฑิรา ชุนลิ้ม, Author ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - ix, 156 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กลยุทธ์การตลาด
[LCSH]กีฬาKeywords: รูปแบบการพัฒนากีฬา,
กลยุทธ์การตลาด,
มหาวิทยาลัยเอกชน,
วิจัยเชิงคุณภาพAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกและ/หรือสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากีฬาที่มีผลต่อการส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยทำการวิจัยในครั้งนี้
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ (Purposive Sampling) จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 8 แห่ง ที่มีระดับผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 แบ่งเป็นกลุ่มสถาบันที่ได้รับเหรียญรางวัลมาก เหรียญรางวัลปานกลาง และเหรียญรางวัลน้อย โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) กับผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านสำนักกีฬา สถาบันละ 2 คน จำนวน 16 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยทำการส่งหนังสือขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์พร้อมส่งข้อคำถาม ประเด็นการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและขออนุญาตทำการบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ และถอดเทปการบันทึกการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในแต่ละประเด็น ร่วมกับจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แล้วนำมาสรุปและอภิปรายผลของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ของการวิจัย พบว่า สภาวะการแข่งขันทางการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษานั้น มีลักษณะการแข่งขันกันในรูปแบบมหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชนและในกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกัน โดยมีระบบการให้ทุนการศึกษาความสามารถพิเศษด้านกีฬาเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการแข่งขันมุ่งเน้นเหรียญรางวัลและระดับของจำนวนเหรียญรางวัลเพื่อเพิ่ม หรือรักษาระดับของมหาวิทยาลัย (Ranking) และประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานจากการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียน รูปแบบการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถแบ่งออกตาม 7 Ps คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ประเภทกีฬาที่ส่งเสริม หลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น 2) ด้านผลตอบแทนที่ได้รับจากการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย (Price) ทุนการศึกษา ระบบจูงใจค่าตอบแทน สวัสดิการ 3) ด้านช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการรับนักศึกษา (Place) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน เวลาการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) โครงการ/กิจกรรมด้านกีฬา การให้บริการด้านอาคาร สนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านบุคลากร (People) มีคณาจารย์และผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียง 6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) สนามกีฬาและอาคารกีฬา สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา 7) ด้านกระบวนการ (Process) ระบบดูแลเรื่องการเรียน ระบบการฝึกซ้อม การประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬานอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างตราสินค้า (Brand Image) ของมหาวิทยาลัยและการให้ทุนการศึกษานักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) เพื่อเป็นแบบอย่างดึงดูดนักเรียนที่ชื่นชอบนักกีฬาเลือกเข้าศึกษาต่อได้Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27548 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000596708 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000596690 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. นวัตวิถีดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปในภาคใต้ / ลักขณาวรรณ พันธุ์ชนะ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : นวัตวิถีดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปในภาคใต้ Original title : Honeymoon Inno-life in Thailand of European Tourists in the Southern Part of Thailand Material Type: printed text Authors: ลักขณาวรรณ พันธุ์ชนะ, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; อุษณีษ์ เสวกวัชรี, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: viii, 157 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2019-06
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2562Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การซื้อสินค้า -- การตัดสินใจ
[LCSH]นักท่องเที่ยว -- ยุโรป
[LCSH]น้ำผึ้งKeywords: ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์, รูปแบบดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์, นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยว เพื่อเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป จำนวน 400 คู่ และ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเที่ยวรูปแบบดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนของตัวแปรทางเดียว และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์/บริการ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บุคลากร กระบวนการบริการ ช่องทางการให้บิการ ราคา/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และการส่งเสริมการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ชี้ว่า ความสวยงามของธรรมชาติ อาหารไทยที่อร่อย การใส่ใจในการให้บริการ เป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวไทย ธุรกิจท่องเที่ยวควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่าของการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้เพิ่มขึ้น และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ การเลือกช่วงเวลา รูปแบบท่องเที่ยว และบริษัทนำเที่ยว โมเดลการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ควรให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างดังนี้ คือ ผลิตภัณฑ์/บริการ ราคา/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ช่องทางการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด และกิจกรรม ความสนใจCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27938 SIU THE-T. นวัตวิถีดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปในภาคใต้ = Honeymoon Inno-life in Thailand of European Tourists in the Southern Part of Thailand [printed text] / ลักขณาวรรณ พันธุ์ชนะ, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; อุษณีษ์ เสวกวัชรี, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 157 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2019-06
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2562
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การซื้อสินค้า -- การตัดสินใจ
[LCSH]นักท่องเที่ยว -- ยุโรป
[LCSH]น้ำผึ้งKeywords: ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์, รูปแบบดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์, นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยว เพื่อเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป จำนวน 400 คู่ และ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเที่ยวรูปแบบดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนของตัวแปรทางเดียว และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์/บริการ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บุคลากร กระบวนการบริการ ช่องทางการให้บิการ ราคา/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และการส่งเสริมการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ชี้ว่า ความสวยงามของธรรมชาติ อาหารไทยที่อร่อย การใส่ใจในการให้บริการ เป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวไทย ธุรกิจท่องเที่ยวควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่าของการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้เพิ่มขึ้น และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ การเลือกช่วงเวลา รูปแบบท่องเที่ยว และบริษัทนำเที่ยว โมเดลการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ควรให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างดังนี้ คือ ผลิตภัณฑ์/บริการ ราคา/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ช่องทางการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด และกิจกรรม ความสนใจCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27938 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607317 SIU THE-T: SOM-DBA-2019-06 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607318 SIU THE-T: SOM-DBA-2019-06 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. รูปแบบการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจ / เพ็ญจันทร์ แสนประสาน / คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2557
Collection Title: SIU THE-T Title : รูปแบบการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจ : ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพสูง Original title : Model of knowledge management for cardiac nursing in the high competence public and private hospitals Material Type: printed text Authors: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author Publisher: คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2557 Pagination: x,460 หน้า Layout: ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] มหาวิทยาลัยชินวัตร. Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]รูปแบบการจัดการความรู้ -- ดุษฎีนิพนธ์
[NLM]โรคหัวใจ, การพยาบาล
[NLM]โรคหัวใจ, การพยาบาล -- ดุษฎีนิพนธ์
[NLM]โรงพยาบาลภาครัฐศักยภาพสูง
[NLM]โรงพยาบาลภาคเอกชนศักยภาพสูงKeywords: การจัดการความรู้.
รูปแบบการจัดการความรู้.
การพยาบาลโรคหัวใจ.
โรงพยาบาลภาครัฐศักยภาพสูง.
โรงพยาบาลภาคเอกชนศักยภาพสูง.Class number: SIU THE-T SOM-DBA-2015-02 Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณ และเขิงคุณภาพในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัใจในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพสูงในประเทศ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน และเพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพสูง โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 629 คน วิเคราะห์ความเชื่อถือและองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสมการโครงสร้าง SEM เพื่อยืนยันสมมติฐาน ซึ่งผลการศึกษา พบว่า โมเดลการวัดของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยสอดคล้องกับทฤษฎีตามองค์ประกอบด้าน 1. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความรู้มีตัวแปรแฝง คือ ผู้บริหารและเทคโนโลยีมีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ และการบริหารมีผลต่อผลลัพธ์การจัดความรู้ 2. โครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานมีตัวแปรแฝง คือ วัฒนธรรม การเสริมพลัง และความร่วมมือมีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ 3. กระบวนการจัดการความรู้มีตัวแปรแฝง คือ การแบ่งปัน การนำความรู้ไปใช้ และการติดตามมีผลต่อผลัพธ์การจัดการความรู้ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การจัดการความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไม่แตกต่างกันทุกด้าน แต่มีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือ ด้านเอกชนมีการใช้เทคโนโลยีมากกว่าบางโรงพยาบาล โรงพยาบาลภาครัฐมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพมากกว่า Contents note: ปีการศึกษา 2557 Curricular : PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25887 SIU THE-T. รูปแบบการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจ = Model of knowledge management for cardiac nursing in the high competence public and private hospitals : ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพสูง [printed text] / เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author . - [S.l.] : คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2557 . - x,460 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] มหาวิทยาลัยชินวัตร.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]รูปแบบการจัดการความรู้ -- ดุษฎีนิพนธ์
[NLM]โรคหัวใจ, การพยาบาล
[NLM]โรคหัวใจ, การพยาบาล -- ดุษฎีนิพนธ์
[NLM]โรงพยาบาลภาครัฐศักยภาพสูง
[NLM]โรงพยาบาลภาคเอกชนศักยภาพสูงKeywords: การจัดการความรู้.
รูปแบบการจัดการความรู้.
การพยาบาลโรคหัวใจ.
โรงพยาบาลภาครัฐศักยภาพสูง.
โรงพยาบาลภาคเอกชนศักยภาพสูง.Class number: SIU THE-T SOM-DBA-2015-02 Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณ และเขิงคุณภาพในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัใจในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพสูงในประเทศ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน และเพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพสูง โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 629 คน วิเคราะห์ความเชื่อถือและองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสมการโครงสร้าง SEM เพื่อยืนยันสมมติฐาน ซึ่งผลการศึกษา พบว่า โมเดลการวัดของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยสอดคล้องกับทฤษฎีตามองค์ประกอบด้าน 1. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความรู้มีตัวแปรแฝง คือ ผู้บริหารและเทคโนโลยีมีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ และการบริหารมีผลต่อผลลัพธ์การจัดความรู้ 2. โครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานมีตัวแปรแฝง คือ วัฒนธรรม การเสริมพลัง และความร่วมมือมีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ 3. กระบวนการจัดการความรู้มีตัวแปรแฝง คือ การแบ่งปัน การนำความรู้ไปใช้ และการติดตามมีผลต่อผลัพธ์การจัดการความรู้ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การจัดการความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไม่แตกต่างกันทุกด้าน แต่มีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือ ด้านเอกชนมีการใช้เทคโนโลยีมากกว่าบางโรงพยาบาล โรงพยาบาลภาครัฐมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพมากกว่า Contents note: ปีการศึกษา 2557 Curricular : PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25887 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000550846 SIU THE-T SOM-DBA-2015-02 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000507036 SIU THE-T SOM-DBA-2015-02 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง / รัชฎาภรณ์ ทองแป้น / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง Original title : Prototype of Community Tourism Management Pattern in Lampang Province Material Type: printed text Authors: รัชฎาภรณ์ ทองแป้น, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: ix, 187 น. Layout: ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ลำปาง
[LCSH]ชุมชนต้นแบบKeywords: รูปแบบการจัดการ,
ชุมชนต้นแบบAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้อาศัยวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวและภาคีที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบทั้ง 2 ชุมชน คือชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางจำนวน 15 คน และชุมชนบ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางจำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน รวมทั้งสนทนากลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนจำนวนบ้านป่าเหมี้ยงจำนวน 3 คน ผู้นำชุมชนจำนวนบ้านสามขาจำนวน 3 คน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบจำนวน 6 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ประเด็นจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และมีการอภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) บริบทชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดลำปางทั้งสองชุมชนมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมคือตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม อากาศดี มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ด้านประชากรคนในชุมชนเป็นกลุ่มคนเมืองเหมือนกัน มีภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อเดียวกันจึงทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สภาพสังคมเศรษฐกิจ ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบเป็นหมู่บ้านที่ยังคงอัตลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิมไว้ วิถีชีวิตคนของคนในชุมชนเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม รายได้หลักของคนในชุมชนมาจากภาคเกษตรกรรมนอกจากนี้ชุมชนยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่โดดเด่นสามารถดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในชุมชนได้
2) ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปางมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว ด้วยบริบทความพร้อมของชุมชนที่มีศักยภาพทั้งด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว การเข้าถึงชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวก ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว และด้านการจัดการท่องเที่ยวจึงทำให้ชุมชนทั้งสองประสบความสำเร็จในการเป็นชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบดังมีรางวัลที่ช่วยการันตีความสำเร็จของชุมชน และยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวต้นแบบของจังหวัดลำปางตามโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคเหนือ
3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ (1) ชุมชนมีอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น (2) มีกฎระเบียบที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกัน (3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอนของการพัฒนา (4) ชุมชนมีขนาดเล็ก การบริหารจัดการง่าย (5) ชุมชนมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งด้านที่พัก ที่จอดรถ รวมถึงรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว (6) มีการกระจายผลประโยชน์ในชุมชนอย่างเป็นธรรม (7) การเข้าถึงชุมชนได้อย่างสะดวกสบายและมีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง (8) ชุมชุนมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ (9) แกนนำชุมชนหรือผู้นําชุมชน มีความเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของสมาชิกชุมชน (10) มีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเข้ามาให้การสนับสนุน เช่นเรื่องงบประมาณ เรื่องการประชาสัมพันธ์ (11) ชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ (12) ชุมชนได้มีการกำหนดรูปแบบกิจกรรมและโปรแกรมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เลือกตามความสนใจ (13) ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ซึ่งข้อมูลและข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนที่มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลานานทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชน ต้องมองถึงศักยภาพของชุมชน คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27945 SIU THE-T. รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง = Prototype of Community Tourism Management Pattern in Lampang Province [printed text] / รัชฎาภรณ์ ทองแป้น, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - ix, 187 น. : ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ลำปาง
[LCSH]ชุมชนต้นแบบKeywords: รูปแบบการจัดการ,
ชุมชนต้นแบบAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้อาศัยวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวและภาคีที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบทั้ง 2 ชุมชน คือชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางจำนวน 15 คน และชุมชนบ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางจำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน รวมทั้งสนทนากลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนจำนวนบ้านป่าเหมี้ยงจำนวน 3 คน ผู้นำชุมชนจำนวนบ้านสามขาจำนวน 3 คน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบจำนวน 6 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ประเด็นจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และมีการอภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) บริบทชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดลำปางทั้งสองชุมชนมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมคือตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม อากาศดี มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ด้านประชากรคนในชุมชนเป็นกลุ่มคนเมืองเหมือนกัน มีภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อเดียวกันจึงทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สภาพสังคมเศรษฐกิจ ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบเป็นหมู่บ้านที่ยังคงอัตลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิมไว้ วิถีชีวิตคนของคนในชุมชนเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม รายได้หลักของคนในชุมชนมาจากภาคเกษตรกรรมนอกจากนี้ชุมชนยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่โดดเด่นสามารถดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในชุมชนได้
2) ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปางมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว ด้วยบริบทความพร้อมของชุมชนที่มีศักยภาพทั้งด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว การเข้าถึงชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวก ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว และด้านการจัดการท่องเที่ยวจึงทำให้ชุมชนทั้งสองประสบความสำเร็จในการเป็นชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบดังมีรางวัลที่ช่วยการันตีความสำเร็จของชุมชน และยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวต้นแบบของจังหวัดลำปางตามโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคเหนือ
3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ จังหวัดลำปาง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ (1) ชุมชนมีอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น (2) มีกฎระเบียบที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกัน (3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอนของการพัฒนา (4) ชุมชนมีขนาดเล็ก การบริหารจัดการง่าย (5) ชุมชนมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งด้านที่พัก ที่จอดรถ รวมถึงรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว (6) มีการกระจายผลประโยชน์ในชุมชนอย่างเป็นธรรม (7) การเข้าถึงชุมชนได้อย่างสะดวกสบายและมีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง (8) ชุมชุนมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ (9) แกนนำชุมชนหรือผู้นําชุมชน มีความเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของสมาชิกชุมชน (10) มีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเข้ามาให้การสนับสนุน เช่นเรื่องงบประมาณ เรื่องการประชาสัมพันธ์ (11) ชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ (12) ชุมชนได้มีการกำหนดรูปแบบกิจกรรมและโปรแกรมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เลือกตามความสนใจ (13) ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ซึ่งข้อมูลและข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนที่มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลานานทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชน ต้องมองถึงศักยภาพของชุมชน คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27945 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607973 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-07 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607972 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-07 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. รูปแบบการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนของเทศบาลในจังหวัดลำปาง / เสาวรีย์ บุญสา / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2022
Collection Title: SIU THE-T Title : รูปแบบการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนของเทศบาลในจังหวัดลำปาง Original title : Sustainable Waste Management Pattern of Municipalities in Lampang Province Material Type: printed text Authors: เสาวรีย์ บุญสา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2022 Pagination: 124 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2022-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2022Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ขยะ -- การกำจัดขยะ -- ไทย -- ลำปาง Keywords: รูปแบบ, การบูรณาการ, การบริหารจัดการขยะ Curricular : GE/MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28406 SIU THE-T. รูปแบบการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนของเทศบาลในจังหวัดลำปาง = Sustainable Waste Management Pattern of Municipalities in Lampang Province [printed text] / เสาวรีย์ บุญสา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2022 . - 124 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2022-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2022
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ขยะ -- การกำจัดขยะ -- ไทย -- ลำปาง Keywords: รูปแบบ, การบูรณาการ, การบริหารจัดการขยะ Curricular : GE/MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28406 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607876 SIU THE-T: IPAG-DPA-2022-01 c.1 Thesis Main Library Thesis Corner Due for return by 06/22/2024 32002000607880 SIU THE-T: IPAG-DPA-2022-01 c.2 Thesis Main Library Thesis Corner Available SIU IS-T. รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตามความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 / พัชรี ล่วงมัจฉา / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2017
Collection Title: SIU IS-T Title : รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตามความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 Original title : Leadership Style of Commissioned Police Officer Towards the Expectation of Non-Commissioned Police Officer, the Border Patrol Police, Subdivision 21 Material Type: printed text Authors: พัชรี ล่วงมัจฉา, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2017 Pagination: xii, 100 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU IS-T: IPAG-MPA-2017-37
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ข้าราชการตำรวจ
[LCSH]ภาวะผู้นำKeywords: รูปแบบภาวะผู้นำ
ความคาดหวัง
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21Abstract: งานค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำ และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำ ซึ่งได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล รวมถึงเพื่อศึกษาถึงปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่น ๆ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 21 ในฝ่ายอำนวยการทั้งหมด จํานวน 210 คน โดยจําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ โดยทำการศึกษาถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน รวมถึงศึกษา ในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS
ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จํานวน 210 คน ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุราชการ 1-10 ปี โดยผลการวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ผู้นำแบบประชาธิปไตย อันดับรองลงมา คือ ผู้นำแบบใช้อำนาจ ตามลําดับ ส่วนในด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมา คือ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านกายภาพ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ด้านภูมิหลังส่วนบุคคล และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อย่อย พบว่า อันดับที่หนึ่ง คือ ด้านความมีมาตรฐาน คือ ผู้นำสามารถใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดีและมีมาตรฐานในการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ และด้านการมีความชัดเจน คือ ผู้นำมีความชัดเจนในด้านมาตรฐานการทำงาน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้สึกเป็นทีมงาน คือ ผู้นำสามารถสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดีซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านการรู้ถึงหน้าที่รับผิดชอบ คือ ผู้นำมีการช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำงาน
ข้อเสนอแนะ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานควรจะต้องนำเอาหลักการทางประชาธิปไตยมาปรับใช้ในการบริหารงานบริหารคน ทั้งนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และควรต้องมีคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำในด้านการมีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเคารพศรัทธาให้เกิดมีกับผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำนั้นต้องให้ความสำคัญในด้านความมีมาตรฐาน ดังนั้น ในการปฏิบัติงานผู้นำต้องมีความชัดเจนในมาตรฐานการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังต้องมีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน สามารถที่จะสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะคอยช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทุกภารกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในการทำงานได้
กล่าวโดยสรุป ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยต้องมีการนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสภาพปัจจุบันนำมาแก้ไขเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งเป็นวิธีการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นในทีมงาน ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะสามารถส่งเสริมสนับสนุนทุกภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยนั้นควรจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับระดับความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาในส่วนงานอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยงานในภาพรวมต่อไปCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27312 SIU IS-T. รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตามความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 = Leadership Style of Commissioned Police Officer Towards the Expectation of Non-Commissioned Police Officer, the Border Patrol Police, Subdivision 21 [printed text] / พัชรี ล่วงมัจฉา, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - xii, 100 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2017-37
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ข้าราชการตำรวจ
[LCSH]ภาวะผู้นำKeywords: รูปแบบภาวะผู้นำ
ความคาดหวัง
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21Abstract: งานค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำ และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำ ซึ่งได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล รวมถึงเพื่อศึกษาถึงปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่น ๆ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 21 ในฝ่ายอำนวยการทั้งหมด จํานวน 210 คน โดยจําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ โดยทำการศึกษาถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน รวมถึงศึกษา ในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS
ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จํานวน 210 คน ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุราชการ 1-10 ปี โดยผลการวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ผู้นำแบบประชาธิปไตย อันดับรองลงมา คือ ผู้นำแบบใช้อำนาจ ตามลําดับ ส่วนในด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมา คือ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านกายภาพ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ด้านภูมิหลังส่วนบุคคล และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อย่อย พบว่า อันดับที่หนึ่ง คือ ด้านความมีมาตรฐาน คือ ผู้นำสามารถใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดีและมีมาตรฐานในการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ และด้านการมีความชัดเจน คือ ผู้นำมีความชัดเจนในด้านมาตรฐานการทำงาน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้สึกเป็นทีมงาน คือ ผู้นำสามารถสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดีซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านการรู้ถึงหน้าที่รับผิดชอบ คือ ผู้นำมีการช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำงาน
ข้อเสนอแนะ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานควรจะต้องนำเอาหลักการทางประชาธิปไตยมาปรับใช้ในการบริหารงานบริหารคน ทั้งนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และควรต้องมีคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำในด้านการมีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเคารพศรัทธาให้เกิดมีกับผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำนั้นต้องให้ความสำคัญในด้านความมีมาตรฐาน ดังนั้น ในการปฏิบัติงานผู้นำต้องมีความชัดเจนในมาตรฐานการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังต้องมีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน สามารถที่จะสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะคอยช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทุกภารกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในการทำงานได้
กล่าวโดยสรุป ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยต้องมีการนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสภาพปัจจุบันนำมาแก้ไขเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งเป็นวิธีการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นในทีมงาน ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะสามารถส่งเสริมสนับสนุนทุกภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยนั้นควรจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับระดับความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาในส่วนงานอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยงานในภาพรวมต่อไปCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27312 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000595205 SIU IS-T: IPAG-MPA-2017-37 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000595197 SIU IS-T: IPAG-MPA-2017-37 c .1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available PPCT Model รูปแบบชีวนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนาสุขภาพ / วรรณรัตน์ ลาวัง in วารสารพยาบาลทหารบก, Vol. 16 No..2 (May-Aug) 2015/2558 ([09/07/2015])
[article]
Title : PPCT Model รูปแบบชีวนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนาสุขภาพ : ผู้ที่มีภาวะเรื้่อรังในชุมชน Original title : PPCT Model bioecological model for developing health of people with chronic conditions in the community Material Type: printed text Authors: วรรณรัตน์ ลาวัง, Author ; รัชนี สรรเสริญ, Author Publication Date: 2015 Article on page: p.15-20 Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol. 16 No..2 (May-Aug) 2015/2558 [09/07/2015] . - p.15-20Keywords: รูปแบบชีวนิเวศวิทยา.บรอนเฟนแบรนเนอร์.การพัฒนาสุขภาพ.ผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้่อรังชุมชน. Abstract: ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก การพัฒนาสุขภาพผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังระยะยาวในชุมชนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบชีวนิเวศวิทยาของบรอนเฟนเบรนเนอร์ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบหลักที่สำคัญรวม เรียกว่า Process-Person-Context-Time Model (PPCT Model) โดย กระบวนการ สะท้อนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของระบบบริบทแวดล้อมรอบตีว สำหรับบุคคล ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของระบบส่วน บริบทแวดล้อม คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบ บุคคล มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบเล็ก กลาง นอก และระบบใหญ่ และเวลา เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของบุคคลได้ตลอดระยะเวลาภายใต้สภาพแวดล้อมทีี่มีรอบตัว ซึ่งรูปแบบนี้มีประโยชน์มากในการนำไปใช้เป็นกรอบแนสวคิดในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ซับซ้อน และพัฒนากลยุทธ์การดูแลสุขภาพผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรได้นำรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฎิบัติงาน และการวิจัยดูแลผู้มีภาวะเรื้อรัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในบริบทของครอบครัวและชุมชนต่อไป Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=24937 [article] PPCT Model รูปแบบชีวนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนาสุขภาพ = PPCT Model bioecological model for developing health of people with chronic conditions in the community : ผู้ที่มีภาวะเรื้่อรังในชุมชน [printed text] / วรรณรัตน์ ลาวัง, Author ; รัชนี สรรเสริญ, Author . - 2015 . - p.15-20.
Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol. 16 No..2 (May-Aug) 2015/2558 [09/07/2015] . - p.15-20Keywords: รูปแบบชีวนิเวศวิทยา.บรอนเฟนแบรนเนอร์.การพัฒนาสุขภาพ.ผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้่อรังชุมชน. Abstract: ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก การพัฒนาสุขภาพผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังระยะยาวในชุมชนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบชีวนิเวศวิทยาของบรอนเฟนเบรนเนอร์ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบหลักที่สำคัญรวม เรียกว่า Process-Person-Context-Time Model (PPCT Model) โดย กระบวนการ สะท้อนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของระบบบริบทแวดล้อมรอบตีว สำหรับบุคคล ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของระบบส่วน บริบทแวดล้อม คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบ บุคคล มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบเล็ก กลาง นอก และระบบใหญ่ และเวลา เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของบุคคลได้ตลอดระยะเวลาภายใต้สภาพแวดล้อมทีี่มีรอบตัว ซึ่งรูปแบบนี้มีประโยชน์มากในการนำไปใช้เป็นกรอบแนสวคิดในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ซับซ้อน และพัฒนากลยุทธ์การดูแลสุขภาพผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรได้นำรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฎิบัติงาน และการวิจัยดูแลผู้มีภาวะเรื้อรัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในบริบทของครอบครัวและชุมชนต่อไป Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=24937 การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี / นพมาศ พงษ์ประจักษ์ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี : ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี Material Type: printed text Authors: นพมาศ พงษ์ประจักษ์, Author ; พิธา พรหมลิขิตชัย, Author ; ทิตยา ด้วงเงิน, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.69-80 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.69-80Keywords: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ีระยะเวลากล้มเนื้อหัวใจขาดเลือด.ระยเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด.รูปแบบการจัดบริการ.อัตราการเสียชีวิต. Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้ 1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27497 [article] การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี : ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี [printed text] / นพมาศ พงษ์ประจักษ์, Author ; พิธา พรหมลิขิตชัย, Author ; ทิตยา ด้วงเงิน, Author . - 2017 . - p.69-80.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.69-80Keywords: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ีระยะเวลากล้มเนื้อหัวใจขาดเลือด.ระยเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด.รูปแบบการจัดบริการ.อัตราการเสียชีวิต. Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้ 1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27497 การประเมินผลโดยใช้รูปแบบชิปป์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาพยาบาล (พบ.292) / พีรนุช ลาเซอร์ in วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, Vol.36 No.2 (May-Aug) 2016 ([12/27/2016])
[article]
Title : การประเมินผลโดยใช้รูปแบบชิปป์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาพยาบาล (พบ.292) : คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ Original title : The evaluation of the English for nursing profession course (SN292) at McCormick faculty of nursing, Payap university using CIPP model Material Type: printed text Authors: พีรนุช ลาเซอร์, Author ; อรอนงค์ ธรรมจินดา, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.47-64 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ > Vol.36 No.2 (May-Aug) 2016 [12/27/2016] . - p.47-64Keywords: การประเมินการจัดการเรียนการสอน.รูปแบบซิปป์.นักศึกษาพยาบาล.ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาลวิชาชีพ. Link for e-copy: www.nur.psu.ac.th/journal/ Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25910 [article] การประเมินผลโดยใช้รูปแบบชิปป์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาพยาบาล (พบ.292) = The evaluation of the English for nursing profession course (SN292) at McCormick faculty of nursing, Payap university using CIPP model : คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ [printed text] / พีรนุช ลาเซอร์, Author ; อรอนงค์ ธรรมจินดา, Author . - 2016 . - p.47-64.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา / สาระ มุขดี in วารสารพยาบาลทหารบก, Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 ([05/23/2017])
[article]
Title : การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา : สำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช Original title : Development of self-regulation program based on yhe concept of buddhist psychology fot nursing students at Kuakarun Faculty of Nursing Navamindradhiraj University Material Type: printed text Authors: สาระ มุขดี, Author ; สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, Author ; วรรณา คงสุริยะนาวิน, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.46-55 Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 [05/23/2017] . - p.46-55Keywords: รูปแบบการควบคุมตนเอง.พุทธจิตวิทยา. Abstract: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองแนวพุทธจิดวิทยาในนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื่้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดำเนินการวิจัยตามแบแผนวิจัย Two group-pre-post test กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นที่ 1 จำนวน 38 คน กลุ่มควบคุม 19 คน กลุ่มทดลอง 19 คน โดยใช่้กระบวนการปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา ผู้วิจัยพัฒนาจากทฤษฎีการควบคุมตนเองของลีเวนทาลและจอห์สันร่วมกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา 3 หลัก คือ สติสัมปชัญญะ หิริโอตัปปะ และขันติโสรัจจะ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paured-test และค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนการควบคุมตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมัีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ทั้งด้านสติสัมปชัญญะ ด้านหิริโอตัปปะ และด้านขันติโสรัจจะ เมื่อติดตามผลระยะ 2 เดือน พบว่า คะแนนการควบคุมตนเองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมคงที่ ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผล และความคงทนของชุดกิจกรรม การวิจัยจึงสามารถสะท้อนได้ว่า รูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการพัฒนาการควบคุมตนเองของนักศึกษาพยาบาลได้ Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26740 [article] การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา = Development of self-regulation program based on yhe concept of buddhist psychology fot nursing students at Kuakarun Faculty of Nursing Navamindradhiraj University : สำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช [printed text] / สาระ มุขดี, Author ; สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, Author ; วรรณา คงสุริยะนาวิน, Author . - 2017 . - p.46-55.
Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 [05/23/2017] . - p.46-55Keywords: รูปแบบการควบคุมตนเอง.พุทธจิตวิทยา. Abstract: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองแนวพุทธจิดวิทยาในนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื่้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดำเนินการวิจัยตามแบแผนวิจัย Two group-pre-post test กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นที่ 1 จำนวน 38 คน กลุ่มควบคุม 19 คน กลุ่มทดลอง 19 คน โดยใช่้กระบวนการปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา ผู้วิจัยพัฒนาจากทฤษฎีการควบคุมตนเองของลีเวนทาลและจอห์สันร่วมกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา 3 หลัก คือ สติสัมปชัญญะ หิริโอตัปปะ และขันติโสรัจจะ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paured-test และค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนการควบคุมตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมัีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ทั้งด้านสติสัมปชัญญะ ด้านหิริโอตัปปะ และด้านขันติโสรัจจะ เมื่อติดตามผลระยะ 2 เดือน พบว่า คะแนนการควบคุมตนเองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมคงที่ ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผล และความคงทนของชุดกิจกรรม การวิจัยจึงสามารถสะท้อนได้ว่า รูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการพัฒนาการควบคุมตนเองของนักศึกษาพยาบาลได้ Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26740 การพัฒนารูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ / บุญเกิด หงวนบุญมาก in วารสารพยาบาลทหารบก, Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 ([05/23/2017])
[article]
Title : การพัฒนารูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน Original title : The development of an evaluation models for operation a health promotion school with sustainable participation Material Type: printed text Authors: บุญเกิด หงวนบุญมาก, Author ; สุนทรา โตบัว, Author ; วารุณี ลัภนโชคดี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.74-82 Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 [05/23/2017] . - p.74-82Keywords: โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ.การมีส่วนร่วม.รูปแบบการประเมิน. Abstract: เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมิน และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกาา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน และผู้ทรางคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 9 คน ฯ
ผลการวิจัย พบว่า A)รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) เป้าหมายของการประเมิน 2) สิ่งที่ีมุ่งประเมิน หรือองค์ประกอบของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ นโยบายส่งเสริมสุขภาพ งบประมาณ บุคลากร การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ การบริหารจัดการของโรงเรียน การบริการสุขภาพ การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้แก่นักเรียนและสุขภาวะ และพฤติกรรมสุขภาพของนักเรัยน 3)วิธีการประเมินแบบมีส่วน 4)เกณฑ์การตัดสินการประเมินเป็นเกณฑ์การตัดสินตัวชี้วัดของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพซึ่งมีลักษณะเป็นเกณฑ์ะระดับคุณภาพ B)ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบประเมินที่ครอบคลุมและถูกต้องตรงตามสภาพจริง C) ความเป็นประโบชน์ โดยนักเรียมีสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26743 [article] การพัฒนารูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ = The development of an evaluation models for operation a health promotion school with sustainable participation : แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน [printed text] / บุญเกิด หงวนบุญมาก, Author ; สุนทรา โตบัว, Author ; วารุณี ลัภนโชคดี, Author . - 2017 . - p.74-82.
Languages : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลทหารบก > Vol.18 No.1 (๋Jan-Apr) 2017 [05/23/2017] . - p.74-82Keywords: โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ.การมีส่วนร่วม.รูปแบบการประเมิน. Abstract: เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมิน และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกาา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน และผู้ทรางคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 9 คน ฯ
ผลการวิจัย พบว่า A)รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) เป้าหมายของการประเมิน 2) สิ่งที่ีมุ่งประเมิน หรือองค์ประกอบของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ นโยบายส่งเสริมสุขภาพ งบประมาณ บุคลากร การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ การบริหารจัดการของโรงเรียน การบริการสุขภาพ การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้แก่นักเรียนและสุขภาวะ และพฤติกรรมสุขภาพของนักเรัยน 3)วิธีการประเมินแบบมีส่วน 4)เกณฑ์การตัดสินการประเมินเป็นเกณฑ์การตัดสินตัวชี้วัดของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพซึ่งมีลักษณะเป็นเกณฑ์ะระดับคุณภาพ B)ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบประเมินที่ครอบคลุมและถูกต้องตรงตามสภาพจริง C) ความเป็นประโบชน์ โดยนักเรียมีสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
Link for e-copy: www.nurseasct.or.th Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26743 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย in วารสารสภาการพยาบาล, Vol.31 No.4 (Oct-Dec) 2016/59 ([07/25/2017])
[article]
Title : การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย : โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ Material Type: printed text Authors: นฐธิกานตร์ จริญรัตนเดชะกูล, Author ; พนิตตา พลาศรี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.76-90 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol.31 No.4 (Oct-Dec) 2016/59 [07/25/2017] . - p.76-90Keywords: รูปแบบการพยาบาล.ผู้ป่วยอุบัติเหตุ.การผ่าตัดชอ่งท้องแบบฉุกเฉิน.การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย. Abstract: บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
การออกแบบวิจัย: การวิจัยและพัฒนา
การดำเนินการวิจัย: แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพยาบาล โดยใช้กระบวนกำรปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วยแนวคิดของเดมมิ่ง กลุ่มตัวอย่ำง ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 32 คน ได้แก่ พยาบาลวิสัญญีทีมพัฒนา 6 คน และพยาบาลวิสัญญีทีมผู้ทดลองใช้รูปแบบการพยาบาล 26 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามปัญหาและอุปสรรคการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉิน 2) รูปแบบการพยาบาล และ3) แบบประเมินความคิดเห็นของทีมผู้ทดลองใช้ต่อการนำไปใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: รูปแบบกำรพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ลำดับขั้นตอนกระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงการติดตามตรวจเยี่ยมหลังผ่าตัด บทบาทวิชาชีพพยาบาลวิสัญญี และกิจกรรม การพยาบาล และผลความคิดเห็นภาพรวมต่อการนำไปใช้จริง พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลใช้ได้ผลดี ในการดูแลผู้ป่วย 2) มีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่กำรปฏิบัติ และ 3) พึงพอใจในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.46, 61.54 และ 69.23 ตำมลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วย 5 รายที่ใช้รูปแบบการพยาบาล ไม่พบอุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลันและเสียชีวิตระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก
ข้อเสนอแนะ: รูปแบบการพยาบาลสามารถนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตามยังต้องการการประเมินประสิทธิผลก่อนกำการนำไปใช้ต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27051 [article] การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย : โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [printed text] / นฐธิกานตร์ จริญรัตนเดชะกูล, Author ; พนิตตา พลาศรี, Author . - 2017 . - p.76-90.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol.31 No.4 (Oct-Dec) 2016/59 [07/25/2017] . - p.76-90Keywords: รูปแบบการพยาบาล.ผู้ป่วยอุบัติเหตุ.การผ่าตัดชอ่งท้องแบบฉุกเฉิน.การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย. Abstract: บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
การออกแบบวิจัย: การวิจัยและพัฒนา
การดำเนินการวิจัย: แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพยาบาล โดยใช้กระบวนกำรปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วยแนวคิดของเดมมิ่ง กลุ่มตัวอย่ำง ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 32 คน ได้แก่ พยาบาลวิสัญญีทีมพัฒนา 6 คน และพยาบาลวิสัญญีทีมผู้ทดลองใช้รูปแบบการพยาบาล 26 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามปัญหาและอุปสรรคการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉิน 2) รูปแบบการพยาบาล และ3) แบบประเมินความคิดเห็นของทีมผู้ทดลองใช้ต่อการนำไปใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: รูปแบบกำรพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ลำดับขั้นตอนกระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงการติดตามตรวจเยี่ยมหลังผ่าตัด บทบาทวิชาชีพพยาบาลวิสัญญี และกิจกรรม การพยาบาล และผลความคิดเห็นภาพรวมต่อการนำไปใช้จริง พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลใช้ได้ผลดี ในการดูแลผู้ป่วย 2) มีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่กำรปฏิบัติ และ 3) พึงพอใจในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.46, 61.54 และ 69.23 ตำมลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วย 5 รายที่ใช้รูปแบบการพยาบาล ไม่พบอุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลันและเสียชีวิตระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก
ข้อเสนอแนะ: รูปแบบการพยาบาลสามารถนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตามยังต้องการการประเมินประสิทธิผลก่อนกำการนำไปใช้ต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27051 ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบในการเผชิญปัญหากับภาวะสุขภาพจิตของ / เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.3 (Sep-Dec) 2015 ([06/20/2016])
[article]
Title : ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบในการเผชิญปัญหากับภาวะสุขภาพจิตของ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขต เมือง จังหวัดนนทบุรี Material Type: printed text Authors: เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, Author ; สาริณี โต๊ะทอง, Author ; วรารัตน์ ประทานวรปัญญา, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.61-72 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.3 (Sep-Dec) 2015 [06/20/2016] . - p.61-72Keywords: รูปแบบการเผชิญปัญหา.ภาวะสุขภาพจิต.นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนนทบุรี. Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25552 [article] ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบในการเผชิญปัญหากับภาวะสุขภาพจิตของ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขต เมือง จังหวัดนนทบุรี [printed text] / เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, Author ; สาริณี โต๊ะทอง, Author ; วรารัตน์ ประทานวรปัญญา, Author . - 2016 . - p.61-72.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง / จเร บุญเรือง in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง Original title : Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation Material Type: printed text Authors: จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.111-126 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. Abstract: การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502 [article] ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง = Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation [printed text] / จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author . - 2017 . - p.111-126.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. Abstract: การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502