[article] Title : | ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถ : ในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง | Material Type: | printed text | Authors: | ประกาย จิโรจน์กุล, Author ; สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, Author ; นิภา ลีสุคนธ์, Author ; เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, Author ; ณัฐนาฎ เร้าเสถียร, Author ; เรณู ขวัญยืน, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.29-43 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.29-43Keywords: | โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง.โรคความดันโลหิตสุูง.การสร้างเสริมสุขภาพ. | Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของแคนาดา และแบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 62 คนจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน
การจัดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจับคู่จาก ระดับความดันโลหิต อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะงานที่ทำ ได้จำนวน 31 คู่ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมกัน 2) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการตนเองทั้ง 7 ด้านสำหรับกลุ่มทดลอง คือ ด้านการลดโซเดียม การลดแอลกอฮอลล์ การลดไขมันแต่เพิ่มผักผลไม้; ด้านการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด้านการรักษาน้ำหนักของร่างกาย; ด้านการบริหารจัดการความเครียด; และด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาตามลำดับ มีการประเมินก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ 10 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2-10 กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองวัดจากค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และค่าระดับ HDL-C, LDL-C, Triglycerideในเลือด, การรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การรับรู้อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, และ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ independent-t-test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค, เส้นรอบวงเอว, และการรับรู้อุปสรรค ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานอื่นๆ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27495 |
[article] ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถ : ในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง [printed text] / ประกาย จิโรจน์กุล, Author ; สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, Author ; นิภา ลีสุคนธ์, Author ; เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, Author ; ณัฐนาฎ เร้าเสถียร, Author ; เรณู ขวัญยืน, Author . - 2017 . - p.29-43. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.29-43Keywords: | โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง.โรคความดันโลหิตสุูง.การสร้างเสริมสุขภาพ. | Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของแคนาดา และแบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 62 คนจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน
การจัดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจับคู่จาก ระดับความดันโลหิต อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะงานที่ทำ ได้จำนวน 31 คู่ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมกัน 2) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการตนเองทั้ง 7 ด้านสำหรับกลุ่มทดลอง คือ ด้านการลดโซเดียม การลดแอลกอฮอลล์ การลดไขมันแต่เพิ่มผักผลไม้; ด้านการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด้านการรักษาน้ำหนักของร่างกาย; ด้านการบริหารจัดการความเครียด; และด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาตามลำดับ มีการประเมินก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ 10 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2-10 กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองวัดจากค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และค่าระดับ HDL-C, LDL-C, Triglycerideในเลือด, การรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การรับรู้อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, และ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ independent-t-test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค, เส้นรอบวงเอว, และการรับรู้อุปสรรค ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานอื่นๆ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27495 |
|