From this page you can:
Home |
Author details
Author เลาหโกศล วิไลพร
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesSIU THE-T. การปฏิรูปตำรวจ: การปรับปรุงองค์การและการบริหารจัดการ / สุวรรณ สุวรรณเวโช / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2017
Collection Title: SIU THE-T Title : การปฏิรูปตำรวจ: การปรับปรุงองค์การและการบริหารจัดการ Original title : Police Reform: Organizational Improvement and Management Material Type: printed text Authors: สุวรรณ สุวรรณเวโช, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2017 Pagination: vii, 213 Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: Non - Circulating
SIU THE-T: SOM-DBA-2017-06
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริหารจัดการ
[LCSH]ตำรวจ -- การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
[LCSH]โครงสร้างองค์กรKeywords: โครงสร้างองค์กร,
ส่วนประสมการตลาดบริการ,
สภาพแวดล้อมภายนอก,
สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน,
หลักธรรมาภิบาลAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างองค์กร ส่วนประสมการ
ตลาดบริการ (7P’s) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน และหลักธรรมาภิบาลที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานการปฏิรูปตำรวจ 2) เพื่อสร้างแนวทางการปฏิรูปตำรวจด้วยการปรับปรุงและการบริหารจัดการองค์การตำรวจสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้บังคับบัญชาตำรวจและผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายตำรวจทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์เชิงประวัติ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบโครงสร้างองค์กร ได้แก่ การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ สายการบังคับบัญชา การกระจายอำนาจ และความเป็นทางการ 2) ส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ด้านบริการ ราคา สถานที่ การส่งเสริมทางการตลาด กระบวนการ บุคลากร และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 3) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ได้แก่ ด้านการเมือง และด้านเทคโนโลยี 4) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน ได้แก่ กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้บังคับบัญชาตำรวจ และกลุ่มรัฐบาล
5) หลักธรรมาภิบาล มีความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานการปฏิรูปตำรวจCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27264 SIU THE-T. การปฏิรูปตำรวจ: การปรับปรุงองค์การและการบริหารจัดการ = Police Reform: Organizational Improvement and Management [printed text] / สุวรรณ สุวรรณเวโช, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - vii, 213 : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
Non - Circulating
SIU THE-T: SOM-DBA-2017-06
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริหารจัดการ
[LCSH]ตำรวจ -- การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
[LCSH]โครงสร้างองค์กรKeywords: โครงสร้างองค์กร,
ส่วนประสมการตลาดบริการ,
สภาพแวดล้อมภายนอก,
สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน,
หลักธรรมาภิบาลAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างองค์กร ส่วนประสมการ
ตลาดบริการ (7P’s) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน และหลักธรรมาภิบาลที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานการปฏิรูปตำรวจ 2) เพื่อสร้างแนวทางการปฏิรูปตำรวจด้วยการปรับปรุงและการบริหารจัดการองค์การตำรวจสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้บังคับบัญชาตำรวจและผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายตำรวจทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์เชิงประวัติ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบโครงสร้างองค์กร ได้แก่ การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ สายการบังคับบัญชา การกระจายอำนาจ และความเป็นทางการ 2) ส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ด้านบริการ ราคา สถานที่ การส่งเสริมทางการตลาด กระบวนการ บุคลากร และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 3) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ได้แก่ ด้านการเมือง และด้านเทคโนโลยี 4) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน ได้แก่ กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้บังคับบัญชาตำรวจ และกลุ่มรัฐบาล
5) หลักธรรมาภิบาล มีความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานการปฏิรูปตำรวจCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27264 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000594844 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-06 c.1 Thesis Graduate Library Thesis Corner Available 32002000594836 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-06 c.2 Thesis Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีองค์การทางบริหารธุรกิจในการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ : กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม / ธัญญลักษณ์ ประเสริฐวิทย์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2016
Collection Title: SIU THE-T Title : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีองค์การทางบริหารธุรกิจในการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ : กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม Original title : Application of Business Model Theories on the Improvement of Government Organization Structure: Case Study of Information and Space Technology Department Material Type: printed text Authors: ธัญญลักษณ์ ประเสริฐวิทย์, Author ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name ; สมชาย รัตนโกมุท, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2016 Pagination: xi, 248 น. Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2016-04
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2559Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม -- การบริหาร
[LCSH]หน่วยราชการ -- การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
[LCSH]องค์การ -- การจัดการKeywords: กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
การปรับปรุงโครงสร้าง
การบริหารจัดการAbstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัญหานำไปสู่การเสนอแนวทางปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาการบริหารจัดการกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย ด้านเนื้อหาไว้ที่การปรับโครงสร้างองค์การแบบบริหารธุรกิจ และการบริหารจัดการองค์การแบบบริหารธุรกิจ ด้านเวลาช่วงเดือน มิ.ย.2558 – ก.ค.2559 ด้านประชากรจำกัดเฉพาะในกลุ่มงานกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหมที่เป็นส่วนราชการเท่านั้น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องอัตราเฉพาะกิจผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ (Interviews) ผู้นำ/ผู้บริหารระดับสูง ทั้งในปัจจุบันและในอดีตของกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหมรวม 34 คน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ในขั้นต้นพบว่า กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม มีหน้าที่ ภารกิจ ระบบงาน และโครงสร้างที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยง ซ้ำซ้อนกับอีก 7 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธี SWOT Analysis ใช้แนวคิด McKinsey 7–S Framework และทฤษฎี PESTEL Analysis ได้ผลสรุปว่า เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ควรมีส่วนร่วมในหารือตามข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐภายนอกกระทรวงกลาโหมและภาคเอกชน ทั้งในมิติของความมั่นคง การผนึกกำลังป้องกันประเทศ และการป้องกันเชิงรุก เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์และการดำเนินงาน ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารภายในของกิจการอวกาศ โดยแยกงานกองกิจการอวกาศออกเป็นหน่วยงานใหม่และยกระดับขึ้นเป็นสำนักงานกิจการอวกาศ เพื่อเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในส่วนระบบการบริหารราชการและการจัดโครงสร้างควรปรับเปลี่ยนประเด็นความรับผิดชอบในการรายงาน/ชี้แจงผลการบริหารราชการ (Line of Authority and Accountability) รองรับโครงสร้างแบบกลุ่มงาน ที่ผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มงานเป็นเจ้าภาพหลัก หรือ Single Manager รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ควบคุม กำกับดูแล รายงานผลการปฏิบัติ และสามารถสั่งการต่อทุกหน่วยได้ตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรค่านิยมในเรื่องเส้นทางในสายอาชีพของบุคคลากร พัฒนาการผู้บริหารระดับสูง – กลางให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีนวัตกรรมความคิด ปฏิรูประบบบริหารจัดการและพัฒนากำลังพลในกรม ทั้งระบบการคัดเลือก บรรจุ เลื่อนขั้น/ยศ หรือปรับย้าย บุคลากร
การบริหารจัดการและโครงสร้างอาจต้องปรับรูปแบบ กลายเป็นองค์กรใหม่ที่อาจเรียกว่า “องค์กรเอกชนในกองทัพ” ในลักษณะ 1 เป็นผู้บริหารจัดการดาวเทียมการสื่อสารและดาวเทียมภาพถ่ายเพื่อความมั่นคง 2 มีสภาพการจ้างงานแบบเอกชน ซึ่งสามารถจ้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเชี่ยวชาญพิเศษได้ในสภาพการจ้างที่สูงกว่าระเบียบราชการ หาเงินสนับสนุนการทำงาน โดยเฉพาะเงินทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ที่ใช้การขอทุนจากภาคเอกชนสนับสนุนโดยตรง ไม่ต้องผ่านระเบียบราชการ 3 ปรับโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนตามสภาพงานที่แท้จริง ไม่ซ้ำซ้อน และ 4 เป็นศูนย์บัญชาการไซเบอร์กระทรวงกลาโหมCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26565 SIU THE-T. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีองค์การทางบริหารธุรกิจในการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ : กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม = Application of Business Model Theories on the Improvement of Government Organization Structure: Case Study of Information and Space Technology Department [printed text] / ธัญญลักษณ์ ประเสริฐวิทย์, Author ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name ; สมชาย รัตนโกมุท, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - xi, 248 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU THE-T: SOM-DBA-2016-04
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2559
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม -- การบริหาร
[LCSH]หน่วยราชการ -- การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
[LCSH]องค์การ -- การจัดการKeywords: กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
การปรับปรุงโครงสร้าง
การบริหารจัดการAbstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัญหานำไปสู่การเสนอแนวทางปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาการบริหารจัดการกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย ด้านเนื้อหาไว้ที่การปรับโครงสร้างองค์การแบบบริหารธุรกิจ และการบริหารจัดการองค์การแบบบริหารธุรกิจ ด้านเวลาช่วงเดือน มิ.ย.2558 – ก.ค.2559 ด้านประชากรจำกัดเฉพาะในกลุ่มงานกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหมที่เป็นส่วนราชการเท่านั้น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องอัตราเฉพาะกิจผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ (Interviews) ผู้นำ/ผู้บริหารระดับสูง ทั้งในปัจจุบันและในอดีตของกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหมรวม 34 คน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ในขั้นต้นพบว่า กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม มีหน้าที่ ภารกิจ ระบบงาน และโครงสร้างที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยง ซ้ำซ้อนกับอีก 7 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธี SWOT Analysis ใช้แนวคิด McKinsey 7–S Framework และทฤษฎี PESTEL Analysis ได้ผลสรุปว่า เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ควรมีส่วนร่วมในหารือตามข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐภายนอกกระทรวงกลาโหมและภาคเอกชน ทั้งในมิติของความมั่นคง การผนึกกำลังป้องกันประเทศ และการป้องกันเชิงรุก เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์และการดำเนินงาน ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารภายในของกิจการอวกาศ โดยแยกงานกองกิจการอวกาศออกเป็นหน่วยงานใหม่และยกระดับขึ้นเป็นสำนักงานกิจการอวกาศ เพื่อเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในส่วนระบบการบริหารราชการและการจัดโครงสร้างควรปรับเปลี่ยนประเด็นความรับผิดชอบในการรายงาน/ชี้แจงผลการบริหารราชการ (Line of Authority and Accountability) รองรับโครงสร้างแบบกลุ่มงาน ที่ผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มงานเป็นเจ้าภาพหลัก หรือ Single Manager รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ควบคุม กำกับดูแล รายงานผลการปฏิบัติ และสามารถสั่งการต่อทุกหน่วยได้ตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรค่านิยมในเรื่องเส้นทางในสายอาชีพของบุคคลากร พัฒนาการผู้บริหารระดับสูง – กลางให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีนวัตกรรมความคิด ปฏิรูประบบบริหารจัดการและพัฒนากำลังพลในกรม ทั้งระบบการคัดเลือก บรรจุ เลื่อนขั้น/ยศ หรือปรับย้าย บุคลากร
การบริหารจัดการและโครงสร้างอาจต้องปรับรูปแบบ กลายเป็นองค์กรใหม่ที่อาจเรียกว่า “องค์กรเอกชนในกองทัพ” ในลักษณะ 1 เป็นผู้บริหารจัดการดาวเทียมการสื่อสารและดาวเทียมภาพถ่ายเพื่อความมั่นคง 2 มีสภาพการจ้างงานแบบเอกชน ซึ่งสามารถจ้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเชี่ยวชาญพิเศษได้ในสภาพการจ้างที่สูงกว่าระเบียบราชการ หาเงินสนับสนุนการทำงาน โดยเฉพาะเงินทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ที่ใช้การขอทุนจากภาคเอกชนสนับสนุนโดยตรง ไม่ต้องผ่านระเบียบราชการ 3 ปรับโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนตามสภาพงานที่แท้จริง ไม่ซ้ำซ้อน และ 4 เป็นศูนย์บัญชาการไซเบอร์กระทรวงกลาโหมCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26565 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000592152 SIU THE-T: SOM-DBA-2016-04 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000592160 SIU THE-T: SOM-DBA-2016-04 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย / ภาคภูมิ ภัควิภาส / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย Original title : Factors of Entrepreneur's Knowledge that affect SMEs Performances, Case of Northern Thailand Material Type: printed text Authors: ภาคภูมิ ภัควิภาส, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: xvii, 379 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2018-05
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ผู้ประกอบการ
[LCSH]วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมKeywords: ปัจจัยด้านความรู้,
ผลประกอบการ,
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมAbstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นหาปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการ ที่ที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด จำนวน 400 ราย และ ทำการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก อีก จำนวน 4 ราย โดยใช้ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งพิจารณารายด้านทั้ง 10 ด้าน ดังนี้ องค์การแห่งการเรียนรู้: (การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี) (x ̅ = 4.050, S.D. = 0.575) (แรงจูงใจในการเรียนรู้) (x ̅ = 3.998, S.D. = 0.689) และ (พลวัตการเรียนรู้) (x ̅ = 3.992, S.D. = 0.467) บรรยากาศการเรียนรู้: (การสื่อสาร) (x ̅ =4.040, S.D. = 0.469) และ (การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้) (x ̅ = 3.761, S.D. = 0.504) การจัดการความรู้: (การแสวงหาความรู้) (x ̅ =4.154, S.D. = 0.564) (การประยุกต์ใช้ความรู้) (x ̅ = 4.144, S.D. = 0.589) (การจัดเก็บความรู้) (x ̅ =4.008, S.D. = 0.505) (การแบ่งปันความรู้) (x ̅ = 3.993, S.D. = 0.525) และ (การสร้างความรู้) (x ̅ = 3.591, S.D. = 0.765) ผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการภายใน (x ̅ =4.097, S.D. = 0.665) ผลการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต (x ̅ = 4.058, S.D. = 0.522) ผลการดำเนินงานด้านลูกค้า (x ̅ =3.995, S.D. = 0.503) และผลการดำเนินงานด้านการเงิน (x ̅ = 3.669, S.D. = 0.713)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า 1) ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน ในส่วนของการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า 1) ปัจจัยความรู้ ด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต กระบวนการภายใน แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน 2) ปัจจัยความรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน ด้านลูกค้า และด้านกระบวนการภายใน 3) ปัจจัยความรู้ ด้านการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านผลการดำเนินงานด้านการเงิน แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต
การนำงานวิจัยไปพัฒนาปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจาก ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญ การนำองค์กร ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่ชัดเจนแล้ว กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการนั้นจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาและนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์ อีกด้วยCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27836 SIU THE-T. ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย = Factors of Entrepreneur's Knowledge that affect SMEs Performances, Case of Northern Thailand [printed text] / ภาคภูมิ ภัควิภาส, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - xvii, 379 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2018-05
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ผู้ประกอบการ
[LCSH]วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมKeywords: ปัจจัยด้านความรู้,
ผลประกอบการ,
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมAbstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นหาปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการ ที่ที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด จำนวน 400 ราย และ ทำการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก อีก จำนวน 4 ราย โดยใช้ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งพิจารณารายด้านทั้ง 10 ด้าน ดังนี้ องค์การแห่งการเรียนรู้: (การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี) (x ̅ = 4.050, S.D. = 0.575) (แรงจูงใจในการเรียนรู้) (x ̅ = 3.998, S.D. = 0.689) และ (พลวัตการเรียนรู้) (x ̅ = 3.992, S.D. = 0.467) บรรยากาศการเรียนรู้: (การสื่อสาร) (x ̅ =4.040, S.D. = 0.469) และ (การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้) (x ̅ = 3.761, S.D. = 0.504) การจัดการความรู้: (การแสวงหาความรู้) (x ̅ =4.154, S.D. = 0.564) (การประยุกต์ใช้ความรู้) (x ̅ = 4.144, S.D. = 0.589) (การจัดเก็บความรู้) (x ̅ =4.008, S.D. = 0.505) (การแบ่งปันความรู้) (x ̅ = 3.993, S.D. = 0.525) และ (การสร้างความรู้) (x ̅ = 3.591, S.D. = 0.765) ผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการภายใน (x ̅ =4.097, S.D. = 0.665) ผลการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต (x ̅ = 4.058, S.D. = 0.522) ผลการดำเนินงานด้านลูกค้า (x ̅ =3.995, S.D. = 0.503) และผลการดำเนินงานด้านการเงิน (x ̅ = 3.669, S.D. = 0.713)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า 1) ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน ในส่วนของการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า 1) ปัจจัยความรู้ ด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต กระบวนการภายใน แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน 2) ปัจจัยความรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน ด้านลูกค้า และด้านกระบวนการภายใน 3) ปัจจัยความรู้ ด้านการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย ด้านผลการดำเนินงานด้านการเงิน แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต
การนำงานวิจัยไปพัฒนาปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจาก ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญ การนำองค์กร ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่ชัดเจนแล้ว กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการนั้นจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาและนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์ อีกด้วยCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27836 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598183 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-05 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598159 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-05 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / ปริตภา รุ่งเรืองกุล / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Original title : Factors Affecting Human Resource Development of Real Estate Companies Listed in the Stock Exchange of Thailand Material Type: printed text Authors: ปริตภา รุ่งเรืองกุล, Author ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: xvi, 162 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2018-04
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
[LCSH]ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์Keywords: การบริหารทรัพยากรมนุษย์,
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์,
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเป็นฐานความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการแก่ผู้สนใจศึกษานำไปอ้างอิงต่อยอดความรู้ให้เกิดประโยชน์ หรือเป็นพื้นฐานการศึกษาเปรียบเทียบกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์ ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mix Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้างาน และพนักงานในระดับปฏิบัติการ จำนวน 450 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One – Way Analysis of Variance (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และยอมรับสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-35 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงานระดับปฏิบัติการ มีอายุการทำงาน 7-9 ปี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 9 ปีขึ้นไป เงินเดือนหรือค่าตอบแทนต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาท ผลการวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการองค์กร ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของผู้บริหารและระบบ/มาตรการขององค์กร นอกจากนี้ขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์/พันธกิจและระบบ/มาตรการขององค์กร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์/นโยบาย, แนวความคิด, วิสัยทัศน์/พันธกิจ, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และระบบ/มาตรการขององค์กร ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในชีวิตของพนักงานและสัญญาจ้าง(ลักษณะการจ้างงาน) ส่วนขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในชีวิต, วัฒนธรรมองค์กร และสัญญาจ้าง(ลักษณะการจ้างงาน) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ, แนวโน้มทางการตลาด, การแข่งขัน และจำนวนประชากร ขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ, การแข่งขัน และจำนวนประชากร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มทางการตลาดและการแข่งขัน กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับผู้ตอบแบบสอบถาม โดยฝ่ายบริหารได้รับทราบ และให้ความสำคัญในการวางนโยบายและกลยุทธ์เพื่อสนองตอบความคาดหวังของพนักงานในเรื่องหลักอยู่แล้ว เนื่องจากแนวโน้มและทิศทางการตลาดอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลทำให้ฝ่ายบริหารต้องปรับนโยบายให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27839 SIU THE-T. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย = Factors Affecting Human Resource Development of Real Estate Companies Listed in the Stock Exchange of Thailand [printed text] / ปริตภา รุ่งเรืองกุล, Author ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - xvi, 162 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2018-04
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
[LCSH]ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์Keywords: การบริหารทรัพยากรมนุษย์,
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์,
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเป็นฐานความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการแก่ผู้สนใจศึกษานำไปอ้างอิงต่อยอดความรู้ให้เกิดประโยชน์ หรือเป็นพื้นฐานการศึกษาเปรียบเทียบกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์ ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mix Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้างาน และพนักงานในระดับปฏิบัติการ จำนวน 450 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One – Way Analysis of Variance (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และยอมรับสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-35 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงานระดับปฏิบัติการ มีอายุการทำงาน 7-9 ปี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 9 ปีขึ้นไป เงินเดือนหรือค่าตอบแทนต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาท ผลการวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการองค์กร ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของผู้บริหารและระบบ/มาตรการขององค์กร นอกจากนี้ขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์/พันธกิจและระบบ/มาตรการขององค์กร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์/นโยบาย, แนวความคิด, วิสัยทัศน์/พันธกิจ, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และระบบ/มาตรการขององค์กร ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในชีวิตของพนักงานและสัญญาจ้าง(ลักษณะการจ้างงาน) ส่วนขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในชีวิต, วัฒนธรรมองค์กร และสัญญาจ้าง(ลักษณะการจ้างงาน) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ, แนวโน้มทางการตลาด, การแข่งขัน และจำนวนประชากร ขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์กับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ, การแข่งขัน และจำนวนประชากร และการตอบสนองนโยบายมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มทางการตลาดและการแข่งขัน กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับผู้ตอบแบบสอบถาม โดยฝ่ายบริหารได้รับทราบ และให้ความสำคัญในการวางนโยบายและกลยุทธ์เพื่อสนองตอบความคาดหวังของพนักงานในเรื่องหลักอยู่แล้ว เนื่องจากแนวโน้มและทิศทางการตลาดอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลทำให้ฝ่ายบริหารต้องปรับนโยบายให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27839 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598241 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-04 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598217 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-04 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย / รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU THE-T Title : ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย Original title : Characteristics of Excellence Performance Organization that Influencing the Performance of Small and Medium Enterprise in Northern Region of Thailand Material Type: printed text Authors: รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: xii, 266 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ธุรกิจขนาดกลาง
[LCSH]ธุรกิจขนาดย่อมKeywords: ลักษณะองค์กรที่เป็นเลิศ,
ผลการดำเนินงาน,
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,
ภาคเหนือของประเทศไทยAbstract: งานวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมาก (x̄ = 3.910) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมากทุกด้านได้แก่ 1.) การนำองค์การ (การกำกับดูแลองค์การ) (x̄ = 3.865) 2.) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ) (x̄ = 4.062) 3.) การมุ่งเน้นลูกค้า (x̄ = 3.723) 4.) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x̄ = 3.967) 5.) การมุ่งเน้นบุคลากร (x̄ = 4.130) และ 6.) การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (x̄ = 3.715) ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ด้านการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมาย (x̄ = 3.752) เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายทุกข้อ ได้แก่ อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio) (x̄ = 4.305) อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อนักลงทุน (ROI) (x̄ = 4.245) และอัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) (x̄ = 3.925)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องต่อลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจะมีความแตกกันของลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศจำแนกตามตำแหน่งงาน ส่วนลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยนั้น พบว่า การนำองค์การ (r= 0.610, Sig.= 0.000) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (r= -0.160, Sig. = 0.001) การมุ่งเน้นบุคลากร (r= -0.156, Sig. = 0.002) มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (r= -0.001, Sig. = 0.997) การมุ่งเน้นลูกค้า (r= -0.090, Sig. = 0.071) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (r= 0.077, Sig. = 0.124) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
นอกจากนี้การนำงานวิจัยไปพัฒนาลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ควรมุ่งเน้น การนำองค์กร ซึ่งผู้นำขององค์การได้ชี้นำ ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและสามารถสื่อสารภายในองค์การได้ทั้งองค์การ โดยมีระบบการกำกับดูแลองค์การ ด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการตั้งเป้าหมายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการควบคุม ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศนั้น ควรต้องลดความสัมพันธ์เชิงลบหรือเป็นผลทางลบที่จะทำให้องค์การไม่เป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ โดยต้องมีการทบทวนเป้าหมาย การปรับเปลี่ยนแผนงานให้มีความหยืดหยุ่นหรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหรือเน้นการวางแผนงาน แผนคน แผนปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้การสร้างความหยืดหยุ่นในตำแหน่งงานCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27838 SIU THE-T. ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย = Characteristics of Excellence Performance Organization that Influencing the Performance of Small and Medium Enterprise in Northern Region of Thailand [printed text] / รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - xii, 266 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ธุรกิจขนาดกลาง
[LCSH]ธุรกิจขนาดย่อมKeywords: ลักษณะองค์กรที่เป็นเลิศ,
ผลการดำเนินงาน,
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,
ภาคเหนือของประเทศไทยAbstract: งานวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมาก (x̄ = 3.910) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมากทุกด้านได้แก่ 1.) การนำองค์การ (การกำกับดูแลองค์การ) (x̄ = 3.865) 2.) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ) (x̄ = 4.062) 3.) การมุ่งเน้นลูกค้า (x̄ = 3.723) 4.) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x̄ = 3.967) 5.) การมุ่งเน้นบุคลากร (x̄ = 4.130) และ 6.) การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (x̄ = 3.715) ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ด้านการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมาย (x̄ = 3.752) เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายทุกข้อ ได้แก่ อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio) (x̄ = 4.305) อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อนักลงทุน (ROI) (x̄ = 4.245) และอัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) (x̄ = 3.925)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องต่อลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจะมีความแตกกันของลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศจำแนกตามตำแหน่งงาน ส่วนลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยนั้น พบว่า การนำองค์การ (r= 0.610, Sig.= 0.000) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (r= -0.160, Sig. = 0.001) การมุ่งเน้นบุคลากร (r= -0.156, Sig. = 0.002) มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (r= -0.001, Sig. = 0.997) การมุ่งเน้นลูกค้า (r= -0.090, Sig. = 0.071) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (r= 0.077, Sig. = 0.124) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
นอกจากนี้การนำงานวิจัยไปพัฒนาลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ควรมุ่งเน้น การนำองค์กร ซึ่งผู้นำขององค์การได้ชี้นำ ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและสามารถสื่อสารภายในองค์การได้ทั้งองค์การ โดยมีระบบการกำกับดูแลองค์การ ด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการตั้งเป้าหมายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการควบคุม ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศนั้น ควรต้องลดความสัมพันธ์เชิงลบหรือเป็นผลทางลบที่จะทำให้องค์การไม่เป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ โดยต้องมีการทบทวนเป้าหมาย การปรับเปลี่ยนแผนงานให้มีความหยืดหยุ่นหรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหรือเน้นการวางแผนงาน แผนคน แผนปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้การสร้างความหยืดหยุ่นในตำแหน่งงานCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27838 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598191 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598225 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU Thesis. บทบาทภาวะผู้นำในการธำรงรักษาพนักงาน กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย / บัญชา ลิมปะพันธุ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2017
Collection Title: SIU Thesis Title : บทบาทภาวะผู้นำในการธำรงรักษาพนักงาน กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย Original title : Leadership Roles in Retaining Employees: A Case of Private Higher Education Institutions in Thailand Material Type: printed text Authors: บัญชา ลิมปะพันธุ์, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2017 Pagination: ix, 124 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2017-09
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ภาวะผู้นำ
[LCSH]สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- ไทยKeywords: ภาวะผู้นำ,
การธำรงรักษาพนักงาน,
การลาออกของพนักงานAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการธำรงรักษาบุคลากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงรักษาบุคลากรโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Quota Sampling) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา และใช้สิถิติเชิงอนุมานในการหาค่า Independent-Sample t-test และ One-Way ANOVA ในการทดสอบสมมุติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ สถานภาพ รายได้ อายุงานรวม การรักษาพยาบาล และวันหยุด กับการธำรงรักษาพนักงานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำ (ด้านมุ่งเกณฑ์ ภาวะผู้นำด้านมุ่งงาน ภาวะผู้นำด้านมุ่งสัมพันธ์ และภาวะผู้นำด้านมุ่งประสาน) กับการธำรงรักษาพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) ผลการวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนด้านการเงินของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ความยุติธรรมของระบบการประเมินผลสำหรับการขึ้นเงินเดือนในองค์กร และผลตอบแทนด้านการเงินทำให้รู้สึกรักองค์กร กับการธำรงรักษาพนักงาน และพบความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนที่ไม่ใช่ด้านการเงินของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ การได้รับการยกย่องจากผู้บังคับบัญชา การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ผลตอบแทนที่ไม่ใช่ด้านการเงินทำให้รู้สึกรักองค์กร และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน กับการธำรงรักษาพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27317 SIU Thesis. บทบาทภาวะผู้นำในการธำรงรักษาพนักงาน กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย = Leadership Roles in Retaining Employees: A Case of Private Higher Education Institutions in Thailand [printed text] / บัญชา ลิมปะพันธุ์, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - ix, 124 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
SIU THE-T: SOM-DBA-2017-09
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ภาวะผู้นำ
[LCSH]สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- ไทยKeywords: ภาวะผู้นำ,
การธำรงรักษาพนักงาน,
การลาออกของพนักงานAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการธำรงรักษาบุคลากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงรักษาบุคลากรโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Quota Sampling) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา และใช้สิถิติเชิงอนุมานในการหาค่า Independent-Sample t-test และ One-Way ANOVA ในการทดสอบสมมุติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ สถานภาพ รายได้ อายุงานรวม การรักษาพยาบาล และวันหยุด กับการธำรงรักษาพนักงานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำ (ด้านมุ่งเกณฑ์ ภาวะผู้นำด้านมุ่งงาน ภาวะผู้นำด้านมุ่งสัมพันธ์ และภาวะผู้นำด้านมุ่งประสาน) กับการธำรงรักษาพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) ผลการวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนด้านการเงินของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ความยุติธรรมของระบบการประเมินผลสำหรับการขึ้นเงินเดือนในองค์กร และผลตอบแทนด้านการเงินทำให้รู้สึกรักองค์กร กับการธำรงรักษาพนักงาน และพบความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนที่ไม่ใช่ด้านการเงินของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ การได้รับการยกย่องจากผู้บังคับบัญชา การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ผลตอบแทนที่ไม่ใช่ด้านการเงินทำให้รู้สึกรักองค์กร และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน กับการธำรงรักษาพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27317 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000595270 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-09 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000595304 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-09 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available