From this page you can:
Home |
Descriptors
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sources
SIU THE-T. คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี / ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี Original title : Quality of the Public Administration of the Town Municipality of Prathum Thani Province Material Type: printed text Authors: ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 141 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ระบบราชการ -- การบริหาร -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี Keywords: คุณภาพการบริหารราชการ,
เทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาหน้าที่ของเทศบาลมีความสัมพันธ์กับการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตบริการของเทศบาลทั้ง 9 แห่งจำนวน 428,290 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารเทศบาลทั้ง 9 แห่ง
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ด้านการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.70 จากการทดสอบสมมติฐาน การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.269 (r=0.269) เป็นไปตามสมมติฐาน 2) ด้านหน้าที่ของเทศบาล พบว่า หน้าที่ของเทศบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.45 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการบริการสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.50 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หน้าที่ของเทศบาลของตัวแปรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบริการสาธาณะ และด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาล ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.087 R2=0.0077) ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 3) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ของตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปร 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด(2) ด้านการวางระบบการบริหารงานเทศบาลแบบบูรณาการ (3) ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการของเทศบาลแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (4) ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R =0.665 R2 = 0.443) เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.64 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.69 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลมีตัวแปร 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (2) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ถึงร้อยละ 99.50 เป็นไปตามสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านหน้าที่ของเทศบาล มีการดำเนินการตามแผนที่ได้วางและกำหนดไว้ ในเรื่องของการบริการสาธารณะ ด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เทศบาลพบปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ที่ขาดความยืดหยุ่น มีข้อจำกัด และยังขาดการใช้อำนาจที่เพียงพอตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.บ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เช่น การนำมาตรการการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมในชุมชนมาใช้ในเรื่องปัญหาการแอบลักลอบการค้ายาเสพติด หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยการนำเข้าประชุม หารือร่วมกัน และควรนำบรรจุอยู่ในวาระการประชุมในแผนประจำปี เพื่อร่วมกันหาฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การยกระดับการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นประโยขน์ต่อไป ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการเทศบาล พบว่า เทศบาลมีการจัดทำแผนป้องกันการทุจริต โดยความร่วมมือที่เกิดจากภาคประชาชน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานของเทศบาลได้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ดี ส่วนเทศบาลที่ไม่ได้ระบุควรต้องให้ความสำคัญและร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังตามหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องพึงปฏิบัติ อันจะเป็นการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการของเทศบาลเมืองที่มีต่อประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตนเองได้Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28106 SIU THE-T. คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี = Quality of the Public Administration of the Town Municipality of Prathum Thani Province [printed text] / ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 141 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ระบบราชการ -- การบริหาร -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี Keywords: คุณภาพการบริหารราชการ,
เทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาหน้าที่ของเทศบาลมีความสัมพันธ์กับการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตบริการของเทศบาลทั้ง 9 แห่งจำนวน 428,290 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารเทศบาลทั้ง 9 แห่ง
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ด้านการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.70 จากการทดสอบสมมติฐาน การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.269 (r=0.269) เป็นไปตามสมมติฐาน 2) ด้านหน้าที่ของเทศบาล พบว่า หน้าที่ของเทศบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.45 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการบริการสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.50 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หน้าที่ของเทศบาลของตัวแปรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบริการสาธาณะ และด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาล ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.087 R2=0.0077) ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 3) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ของตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปร 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด(2) ด้านการวางระบบการบริหารงานเทศบาลแบบบูรณาการ (3) ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการของเทศบาลแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (4) ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R =0.665 R2 = 0.443) เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.64 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.69 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลมีตัวแปร 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (2) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ถึงร้อยละ 99.50 เป็นไปตามสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านหน้าที่ของเทศบาล มีการดำเนินการตามแผนที่ได้วางและกำหนดไว้ ในเรื่องของการบริการสาธารณะ ด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เทศบาลพบปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ที่ขาดความยืดหยุ่น มีข้อจำกัด และยังขาดการใช้อำนาจที่เพียงพอตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.บ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เช่น การนำมาตรการการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมในชุมชนมาใช้ในเรื่องปัญหาการแอบลักลอบการค้ายาเสพติด หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยการนำเข้าประชุม หารือร่วมกัน และควรนำบรรจุอยู่ในวาระการประชุมในแผนประจำปี เพื่อร่วมกันหาฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การยกระดับการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นประโยขน์ต่อไป ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการเทศบาล พบว่า เทศบาลมีการจัดทำแผนป้องกันการทุจริต โดยความร่วมมือที่เกิดจากภาคประชาชน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานของเทศบาลได้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ดี ส่วนเทศบาลที่ไม่ได้ระบุควรต้องให้ความสำคัญและร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังตามหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องพึงปฏิบัติ อันจะเป็นการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการของเทศบาลเมืองที่มีต่อประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตนเองได้Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28106 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607329 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607331 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available